Peeradon Ariyanukooltorn
เบื่องหลังการทำภาพ The Buffalo Amphawa ด้วย Nikon D5600
Updated: Aug 21, 2019

บทความนี้เป็นบทความต่อเนื่องมาจาก Content ของพี่นันท์ อ.ดร.ภูมินันท์ ปิยทัศน์นันท์ ที่ได้ทำการถ่ายภาพโรงแรม The Buffalo Amphawa นะครับ ซึ่งผมได้รับเชิญไปในฐานะ ตัวแทนของช่างภาพที่มีประสบการณ์ในการถ่ายสถาปัตยกรรม และได้รับมอบหมายให้ใช้กล้องระดับเบสิคในการถ่ายภาพ นั่นก็คือ Nikon D5600 + AF-S DX 10-20mm ซึ่งคอนเท้นท์นี้ได้ออกร่วมกับน้องเชง ที่เป็นตัวแทนของช่างภาพมือใหม่ ที่ได้รับมอบหมายให้ใช้ชุดอุปกรณ์ Nikon Z6 + AF-S 14-24mm นั่นเอง
ก่อนจะเข้าสู่คลิปเรามาทำความรู้จักกับกล้องตัวนี้กันก่อน
Nikon D5600 จัดเป็นกล้อง DSLR ตระกูล Sensor DX หรือที่เรียกกันว่า "ตัวคูณ" นั่นเอง ซึ่งจะมีคาแรกเตอร์คือ เมื่อใส่เลนส์ระยะใดเข้าไป จะมี Crop Factor เพิ่มที่ 1.5x
ซึ่ง D5600 นี้ก็ถือว่าเป็นกล้องระดับเริ่มต้น แต่จะมี Nikon D3500 เป็นตัวระดับเริ่มต้นสุด ตามมาด้วย D5600 จากนั้นค่อยมีกล้องตัวคูณในระดับ Semi-Pro ก็คือ D7500 และ D500 ตามลำดับ
ซึ่งในประสิทธิภาพของเซนเซอร์ตัวคูณนั้น ตัว D5600 นับว่าเป็นกล้องที่มีจุดเด่นและจุดด้อยที่น่าสนใจอยู่พอสมควรเลยครับ

จุดเด่น ::
- เป็นเซนเซอร์ขนาด 24 ล้านพิกเซลที่ไม่มี low pass filter ทำให้ภาพที่ได้ออกมาคมชัด
- มีจอพับได้ เหมาะสำหรับการถ่ายภาพ interior ที่อาจต้องตั้งกล้องให้ต่ำ หรือระยะกระชั้นกับสิ่งของอื่นๆ
- ตัวกล้องมีน้ำหนักเบาเพียง 465 กรัมเท่านั้นและเล็กกระทัดรัด
ข้อจำกัดในการถ่ายสถาปัตยกรรม ::
- ไม่มีระดับน้ำในตัวกล้อง
- ค่า White Balance ไม่สามารถปรับละเอียดแบบ Kelvin ได้
- ลักษณะจอพับแบบพับออก ทำให้ไม่สามารถใช้งานร่วมกับ L-Plate Universal ได้
- คุณภาพไฟล์ที่ด้อยกว่ากล้อง Fullframe ของนิคอน
- Live View เมื่อทำงานร่วมกับเลนส์ที่ไม่ใช่ E Type ยังไม่สามารถแสดงภาพ Real Time Exposure ได้
- เมื่อใช้งานร่วมกับเลนส์ PC จะใช้ประสิทธิภาพได้ไม่เต็มที่เนื่องจากภาพถูกครอปออก
แนวทางในการปรับใช้กล้อง D5600 กับการถ่ายภาพสถาปัตยกรรม
หลังจากที่ผมได้ศึกษาข้อดีข้อเสียมาแล้ว ก็ได้เตรียมตัวปรับใช้กล้องให้เหมาะสมกับการถ่ายสถาปัตยกรรม ซึ่งผมได้ปรับแต่งและเตรียมตัวเพิ่มตามนี้ครับ
- ถ่ายภาพคร่อมความสว่าง (Bracketing Mode // BKT) เสมอ เพื่อเอามารวมอีกครั้งใน Photoshop/Lightroom
- เตรียมระดับน้ำภายนอกมาติดตั้งบริเวณ Hotshoe
- ปรับการตั้งค่า My Menu ดึงเอาเมนูที่เราใช้บ่อยๆ มาอยู่ในที่เดียวกัน เช่น White Balance / BKT เป็นต้น
- คิดก่อนถ่ายเสมอ ว่าต้องการ Final Image อย่างไร และต้องทำอะไรบ้างในกระบวนการ Post-Processing

แนวทางคร่าวๆ ในการทำ Post Processing
ภาพๆ นี้ผมต้องการถ่ายภาพห้องนอนคู่กับนางแบบ สิ่งที่ผมทำคือ
1. ถ่ายภาพทุกอย่างคร่อม 3 stop เพื่อเก็บ Dynamic Range ให้ครบถ้วนที่สุดที่เป็นไปได้
2. ถ่ายภาพอ้างอิง Perspective มาก่อน แล้วค่อยถ่ายงัด เพื่อรวม Panorama แบบ Perspective แทนการใช้เลนส์ PC
3. ถ่ายภาพแบบมาต่างหาก โดยกะ Exposure ให้พอดีที่ตัวแบบ
4. รวมภาพทั้งหมดใน Lightroom (HDR + Panorama)
5. ปรับ Exposure ของภาพที่รวมแล้ว กับภาพที่มีนางแบบให้เท่ากัน
6. เปิดทั้งสองภาพลงในโปรแกรม Photoshop
7. รวมทั้งสองภาพเข้าด้วยกันด้วย Layer Mask (ปรับให้ภาพซ้อนกันสนิทด้วย Auto Align Layer)
8. สร้าง Layer ที่รวมสองภาพเข้าด้วยกันแล้ว แล้ว Retouch งานให้เรียบร้อย
9. ปรับโทนโดยละเอียดอีกครั้ง
ซึ่งสามารถรับชมได้ที่ลิงค์วิดีโอด้านล่างนี้เลยครับ